จับตา เขื่อนเจ้าพระยา ตรึงอัตราการระบายน้ำ รับมวลน้ำจากสถานการณ์ฝนตกหนัก
วันที่ 21 ก.ย. 2567 จากกรณีที่กรมชลประทาน ออกประกาศแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา ฉบับที่ 8 โดยคาดการณ์สถานการณ์น้ำล่วงหน้า อิทธิพลพายุ “ซูลิก” ที่แม้ว่าจะเปลี่ยนจากดีเปรสชันเป็นพายุโซนร้อนแล้ว แต่ก็ยังทำให้ฝนตกหนักทางภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ
กรุงเทพฯ ภาคตะวันออก และภาคใต้และอีกหลายจังหวัด ซึ่งพายุจะมีผลกับประเทศไทยในช่วงวันที่ 19-21 ก.ย.แต่หลังจากนี้ ร่องความกดอากาศก็ยังไม่ไปไหน บวกกับมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนเบียดเข้ามา ทำให้วันที่ 22-24 ก.ย. ก็ยังมีฝนอยู่ โดยฝนจะตกกระจายทั่วประเทศ คาด
ว่าจะทำให้ปริมาณน้ำที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยามีปริมาณ 1,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ต้องระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราไม่เกิน 1,500 ลบ.ม./วินาทีโดยจะมีการระบายเพิ่มขึ้นแบบขั้นบันได ส่งผลให้พื้นที่ริมน้ำมีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีก 0.60 ซม
. – 1 เมตร บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำบริเวณคลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และที่บริเวณแม่น้ำน้อย ที่ ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชนสำหรับปัจจุบัน ที่สถานีวัดน้ำ
C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่านอยู่ที่ 1,145 ลบ.ม./วินาที ที่เขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท มีปริมาณน้ำทางด้านเหนือเขื่อนอยู่ที่ 14.52 เมตร/รทก. มีปริมาณน้ำทางด้านท้ายเขื่อนอยู่ที่ 11.16 เมตร/รทก. ซึ่งระดับน้ำห่างจากตลิ่งอยู่ที่ 5.18 เ
มตร และเขื่อนเจ้าพระยาตรึงอัตราการระบายน้ำลงสู่ทางด้านท้ายเขื่อนอยู่ที่ 1,049 ลบ.ม./วินาที เป็นวันที่ 4 ติดต่อกันอย่างไรก็ตามทางกรมชลประทานจะบริหารจัดการน้ำและควบคุมปริมาณการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าวอย่างเต็มศักยภาพ ดังนั้นเพื
่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
จับตา เขื่อนเจ้าพระยา ตรึงอัตราการระบายน้ำ รับมวลน้ำจากสถานการณ์ฝนตกหนัก
วันที่ 21 ก.ย. 2567 จากกรณีที่กรมชลประทาน ออกประกาศแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา ฉบับที่ 8 โดยคาดการณ์สถานการณ์น้ำล่วงหน้า อิทธิพลพายุ “ซูลิก” ที่แม้ว่าจะเปลี่ยนจากดีเปรสชันเป็นพายุโซนร้อนแล้ว แต่ก็ยังทำให้ฝนตกหนักทางภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ
กรุงเทพฯ ภาคตะวันออก และภาคใต้และอีกหลายจังหวัด ซึ่งพายุจะมีผลกับประเทศไทยในช่วงวันที่ 19-21 ก.ย.แต่หลังจากนี้ ร่องความกดอากาศก็ยังไม่ไปไหน บวกกับมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนเบียดเข้ามา ทำให้วันที่ 22-24 ก.ย. ก็ยังมีฝนอยู่ โดยฝนจะตกกระจายทั่วประเทศ คาด
ว่าจะทำให้ปริมาณน้ำที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยามีปริมาณ 1,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ต้องระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราไม่เกิน 1,500 ลบ.ม./วินาทีโดยจะมีการระบายเพิ่มขึ้นแบบขั้นบันได ส่งผลให้พื้นที่ริมน้ำมีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีก 0.60 ซม
. – 1 เมตร บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำบริเวณคลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และที่บริเวณแม่น้ำน้อย ที่ ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชนสำหรับปัจจุบัน ที่สถานีวัดน้ำ
C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่านอยู่ที่ 1,145 ลบ.ม./วินาที ที่เขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท มีปริมาณน้ำทางด้านเหนือเขื่อนอยู่ที่ 14.52 เมตร/รทก. มีปริมาณน้ำทางด้านท้ายเขื่อนอยู่ที่ 11.16 เมตร/รทก. ซึ่งระดับน้ำห่างจากตลิ่งอยู่ที่ 5.18 เ
มตร และเขื่อนเจ้าพระยาตรึงอัตราการระบายน้ำลงสู่ทางด้านท้ายเขื่อนอยู่ที่ 1,049 ลบ.ม./วินาที เป็นวันที่ 4 ติดต่อกันอย่างไรก็ตามทางกรมชลประทานจะบริหารจัดการน้ำและควบคุมปริมาณการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าวอย่างเต็มศักยภาพ ดังนั้นเพื
่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด