ผลสำรวจเผย สิงคโปร์ มีระบบบำนาญหลังเกษียณดีที่สุดในเอเชีย ได้เกรด B+ ส่วนไทยได้ C เกือบแย่สุด! –

ผลสำรวจเผย สิงคโปร์ มีระบบบำนาญหลังเกษียณดีที่สุดในเอเชีย ได้เกรด B+ ส่วนไทยได้ C เกือบแย่สุด! –

รายงานการจัดอันดับระบบบำนาญหลังเกษียณที่ดีที่สุดในโลก ประจำปีนี้ (ครั้งที่ 16) ซึ่งพิจารณาจากค่าดัชนีเงินบํานาญทั่วโลกของ Mercer CFA Institute Global Pension Index 2024 พบว่า “เนเธอร์แลนด์” ขึ้นแท่นอันดับ 1 เป็นประเทศที่ระบบเกษียณดีที่สุดในโลก ประเมินผลได้เกรด A มีค่าดัชนีโดยรวม 84.8 คะแนน

ผลสำรวจเผย สิงคโปร์ มีระบบบำนาญหลังเกษียณดีที่สุดในเอเชีย ได้เกรด B+ ส่วนไทยได้ C เกือบแย่สุด! –

.

รองลงมา คือ “ไอซ์แลนด์” ประเมินผลได้เกรด A มีค่าดัชนี 83.4 คะแนน และ “เดนมาร์ก” ประเมินผลได้เกรด A มีค่าดัชนี 81.6 คะแนน เป็นอันดับสองและสามตามลำดับ

ผลสำรวจเผย สิงคโปร์ มีระบบบำนาญหลังเกษียณดีที่สุดในเอเชีย ได้เกรด B+ ส่วนไทยได้ C เกือบแย่สุด! -

ผลสำรวจเผย สิงคโปร์ มีระบบบำนาญหลังเกษียณดีที่สุดในเอเชีย ได้เกรด B+ ส่วนไทยได้ C เกือบแย่สุด! –

.

อย่างไรก็ตาม เมื่อเจาะลึกลในรายงานเพื่อดูเฉพาะกลุ่มประเทศในแถบเอเชีย พบว่า ประเทศที่มีระบบเกษียณดีที่สุดในเอเชีย คือ สิงคโปร์ ประเมินผลได้เกรด B+ มีค่าดัชนีรวม 78.7 คะแนน ขึ้นเป็นอันดับ 5 ของโลก

.

ขณะที่ประเทศไทยมีระบบบำนาญหลังเกษียณไม่สู้ดีนัก ประเมินผลได้เกรด C มีค่าดัชนีรวม 50.0 คะแนน ได้อันดับ 43 ของโลก รั้งท้ายตาราง

.

สำหรับผลประเมินระบบเกษียณของประเทศในโซนเอเชียทั้งหมด 12 ประเทศ มีการจัดอันดับ ประเมินเกรด และให้คะแนนค่าดัชนีรวม ดังนี้

.

สิงคโปร์ ได้เกรด B+ คะแนนรวม 78.7

ฮ่องกง ได้เกรด C+ คะแนนรวม 63.9

จีน ได้เกรด C+ คะแนนรวม 56.5

มาเลเซีย ได้เกรด C คะแนนรวม 56.3

ญี่ปุ่น ได้เกรด C คะแนนรวม 54.9

เวียดนาม ได้เกรด C คะแนนรวม 54.5

ไต้หวัน ได้เกรด C คะแนนรวม 53.7

เกาหลีใต้ ได้เกรด C คะแนนรวม 52.2

อินโดนีเซีย ได้เกรด C คะแนนรวม 50.2

#ไทย ได้เกรด C คะแนนรวม 50.0

ฟิลิปปินส์ ได้เกรด D คะแนนรวม 45.8

อินเดีย ได้เกรด D คะแนนรวม 44.0

ผู้สูงอายุควรได้รับการปฏิบัติอย่างมีศักดิ์ศรี ได้ใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างดีมีคุณภาพ

เนื่องจากผู้คนมีอายุยืนยาวขึ้น แนวคิดเรื่องการเกษียณอายุกำลังเปลี่ยนแปลงไป หลายประเทศจึงเริ่มมีการปรับปรุงระบบจัดเก็บเงินเพื่อการเกษียณใหม่ให้มีความยืดหยุ่นมากว่าระบบเดิม คนวัยทำงานกลุ่มสูงวัยใกล้เกษียณจำนวนมากกำลังค่อยๆ ปรับตัวให้เข้ากับการเกษียณอายุแบบใหม่ เช่น การกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานในตำแหน่งอื่นหลังจากเกษียณอายุครั้งแรก

“จำเป็นต้องมีการปฏิรูประบบรายได้หลังเกษียณอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อตอบสนองความต้องการทางการเงินของผู้เกษียณอายุและความคาดหวังของการทำงานต่อไป ต้องใช้หลายๆ ยุทธวิธีในการแก้ปัญหานี้ เพื่อให้ระบบเกษียณอายุมีความมั่นคงมากขึ้น รัฐบาล ผู้กำหนดนโยบาย หน่วยงานผู้ดูแลเงินบำนาญ และนายจ้าง จะต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้แน่ใจว่าประชากรสูงอายุได้รับการปฏิบัติอย่างมีศักดิ์ศรี และสามารถใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างดีมีคุณภาพเหมือนกับตอนที่ยังทำงาน” ดร.เดวิด น็อกซ์ (David Knox) หุ้นส่วนอาวุโสของ Mercer อธิบาย

เมื่อผู้คนยุคนี้มีอายุยืนมากขึ้น และต้องใช้ชีวิตท่ามกลางภาวะอัตราดอกเบี้ยสูง และมีต้นทุนการดูแลสุขภาพตัวเองที่เพิ่มขึ้น ทําให้เกิดแรงกดดันต่องบประมาณของรัฐบาลเพื่อสนับสนุน “โครงการบํานาญวัยเกษียณ” ส่งผลให้ระบบบำนาญในภาพรวมทั่วโลกมีคะแนนลดลงเล็กน้อยในปีนี้ ตามรายงานระบุด้วยว่า ระบบบำนาญในหลายๆ ประเทศอย่างจีน เม็กซิโก อินเดีย และฝรั่งเศส ได้ดําเนินการปฏิรูปเงินบํานาญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

.

.

อ่านต่อ:

https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/1150583