ด่วน! เช็กเลย ปปง.ยึดทรัพย์ 6 บอส ‘ดิไอคอน กรุ๊ป’ ใครโดนบ้างหลัง 17 ต.ค.นี้
”เลขาฯ ปปง.“ เผย พฤหัสนี้เตรียมเสนอคณะกรรมการธุรกรรม ตรวจสอบทรัพย์สินเชิงลึก ”บอสพอล-ก๊วนบอสดาราดัง-เพื่อน“ แย้ม หากข้อมูลชัดเจนครบถ้วน พร้อมออกคำสั่งยึดทรัพย์ 6 บอส ทันที หลังมีพฤติการณ์เข้าข่ายฉ้อโกงประชาชน เตือน โยกย้าย-จ่ายโอนทรัพย์หนี ส่อโดนฟอกเ
งินหลายกระทงกรณีบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด – The iCon Group Co., Ltd. ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพและความงาม ถูกผู้เสียหายกว่า 500 ราย มูลค่าความเสียหาย 118 ล้านบาท เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษบริษัทและกรรมการต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปคบ. ใ
ห้ตรวจสอบว่าบริษัทฯ เข้าข่ายกระทำความ ผิดตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 รวมทั้งขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตรวจสอบการครอบ
ครองทรัพย์สินมูลค่าสูงของบรรดาผู้บริหารบริษัทฯ ตามที่มีการรายงานข่าวไปแล้วนั้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 14 ต.ค. “ผู้สื่อข่าวเดลินิวส์” ได้รับการเปิดเผยจากนายเทพสุ บวรโชติดารา เลขาธิการ ปปง. ว่า สำนักงาน ปปง. กำลังจะมีการประชุมคณะกรรมการธุรกรรมใน
วันพฤหัสบดีที่ 17 ต.ค. นี้ เวลา 13.30 น. โดยวาระสำคัญของการประชุมจะเกี่ยวกับการดำเนินการทางทรัพย์สินของ 2 คดีสำคัญ คือ คดีบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด และคดีทอง 99.99% หรือคดีของ น.ส.กรกนก สุวรรณบุตร (แม่ตั๊ก) และนายกานต์พล เรืองอร่าม (ป๋าเบียร์) เนื่อ
งจากคณะกรรมการธุรกรรม มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลสำนักงาน ปปง. เพื่อตรวจสอบธุรกรรม หรือรายการทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ดังนั้น กรณีคดีของบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด ถือเป็นเรื่องราวที่สังคมให้ความสนใจอย่างยิ่ง ตนจึงได้เตรียมเสนอเรื่องเข้าที่ประช
ุมคณะกรรมการธุรกรรม เพื่อขอให้ที่ประชุมมีมติให้ตรวจสอบธุรกรรมและทรัพย์สินในเชิงลึก นอกจากนี้ ขอบเขตการตรวจสอบเรื่องทรัพย์สิน ปปง. จะทำการตรวจสอบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินของนิติบุคคล หรือบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนธุรกิจ เพราะ ปปง. ได้มีการประส
านข้อมูลอย่างใกล้ชิดกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปคบ. รวมทั้งยังประสานงานกับ สคบ.นายเทพสุ เผยอีกว่า สำหรับกรณีของบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด จากแนวทางการทำงานสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และจากรายงานข่าวสารสื่อมวลชน พบว่าเข้าข่ายเป็นความผิดฐาน พ.ร.ก.กา
รกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 และฉ้อโกงประชาชน ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ส่วนมูลค่ารายการทรัพย์สินที่ ปปง. จะเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการธุรกรรมเพื่อตรวจสอบก่อนมีคำสั่งให้ยึดและอายัดทรัพย์ จะเ
ป็นรายละเอียดตามที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ปคบ. จะได้ประสานข้อมูลรายงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประสานงาน เช่น พบพฤติการณ์การกระทำความผิดมูลฐาน จากนั้น ปปง. และตำรวจจะต้องทำงานร่วมกัน ซึ่งในการทำงานร่วมกันนี้จะไปสู่มิติของการทำคดีอาญาที่ตำรวจจะต
ั้งประเด็นการสอบสวนว่ามีใครเกี่ยวข้องบ้าง ใครคือผู้ต้องหา และเกี่ยวข้องโดยพฤติการณ์ใด เบื้องต้นจึงยังอยู่ระหว่างดำเนินการรวบรวมข้อมูลให้ครบถ้วนรอบด้านก่อน จึงยังไม่สามารถสรุปตัวเลขมูลค่า และประเภทรายการทรัพย์สินได้ ทั้งนี้ จะเป็นบรรดารถยนต์หรู นาฬิกา
หรู บ้านหลังโต เงินสด เงินฝากในบัญชีธนาคารหรือไม่ ขอให้สังคมจับตาดูการทำงานอย่างเต็มที่ ถูกต้อง และรวดเร็วของ ปปง.นายเทพสุ เผยต่อว่า ในวันพฤหัสบดีที่ 17 ต.ค. นี้ ที่จะมีการประชุมของคณะกรรมการธุรกรรม เดิมทียังตั้งวาระเพียงแค่การเสนอเรื่องเข้าที่ประชุม
คณะกรรมการธุรกรรม เพื่อมีมติให้ตรวจสอบธุรกรรมและทรัพย์สินในเชิงลึก แต่ถ้าถึงวันนั้นข้อมูลและพยานหลักฐานมีความสมบูรณ์มากเพียงพอ ที่ประชุมคณะกรรมการธุรกรรมก็สามารถมีมติออกคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์ไว้ตรวจสอบได้ทันที อย่างไรก็ตาม คำสั่งยึดและอายัดจะต้องพิจ
ารณาจากทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดเท่านั้น จะไม่ใช้หลักการตรวจสอบแบบหว่านแห แต่ต้องดูว่าเข้าบทนิยามว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือมีพฤติการณ์ในการยักย้าย หรือกำลังจะยักย้าย จำหน่าย จ่าย โอน หรือไม่ ส่วนจะเป็นทรัพย์สินที่กลุ่ม
ผู้ต้องหาได้มาในช่วงเกิดเหตุที่บริษัทถูกผู้เสียหายร้องเรียนในปี พ.ศ. 2564 หรือไม่นั้น ยืนยันว่า ปปง. จะต้องตรวจสอบย้อนหลังเเน่นอนและจะต้องตรวจสอบให้รอบด้านเมื่อถามว่าการตรวจสอบทรัพย์สินเชิงลึก และเตรียมมีคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินนั้น ประกอบด้วยกลุ่ม
บุคคลใดบ้าง นายเทพสุ ระบุว่า สำหรับเรื่องที่จะเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการธุรกรรม อยู่ในข่ายของผู้ที่ต้องถูกตรวจสอบ ซึ่งก็คือผู้ต้องหาทั้ง 6 ราย ตามที่ตำรวจ ปคบ. ได้มีการออกมาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนนายเทพสุ กล่าวด้วยว่า กรณีหากมีการยึดและอายัดทรัพย์สินเก
ิดขึ้นไปแล้ว แต่ในอนาคตเจ้าหน้าที่ ปปง. สามารถสืบทรัพย์สินได้เพิ่มเติม และพบว่าทรัพย์สินนั้น ๆ มาจากการกระทำความผิดในคดีมูลฐาน ปปง. ก็สามารถเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการธุรกรรม เพื่อมีคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินได้อีก ตนขอเรียนพี่น้องประชาชน ว่า ก
ารดำเนินการตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินถือเป็นมาตรการที่รุนแรง การใช้อำนาจจึงต้องอิงด้วยหลักกฏหมาย และจะต้องดูในทุกมิติ การจะดำเนินการสิ่งใดแม้ต้องใช้ความรวดเร็ว แต่ก็ต้องละเอียดรอบคอบอย่างยิ่ง ส่วนในกรณีที่สังคมตั้งข้อสังเกตว่ากลุ่มผู้ต้องห
าอาจมีการจำหน่าย ยักย้าย ถ่ายเท แปลงสภาพทรัพย์สินไปก่อนที่เจ้าหน้าที่จะเข้ายึดและอายัดนั้น ขอย้ำว่าเรามีการเฝ้าระวังอย่างดีเมื่อถามว่าจากการดำเนินการตรวจสอบหรือสืบทรัพย์สินของทางสำนักงาน ปปง. พบหรือไม่ว่ากลุ่มผู้ต้องหาหรือกลุ่มเครือข่ายมีการจำหน่าย จ
่าย โอนทรัพย์สินออกไปยังต่างประเทศ นายเทพสุ กล่าวว่า ในตอนนี้เบื้องต้นยังไม่พบการทำธุรกรรมในลักษณะดังกล่าว แต่ทุกอย่างยังอยู่ระหว่างกระบวนการสืบสวนนายเทพสุ ย้ำว่า การใช้อำนาจเข้าไปยึดและอายัดทรัพย์สิน เรามองถึงผลลัพธ์สูงสุด หากท้ายสุดผู้ต้องหามีพฤติก
รรมการยักย้าย จำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์สิน ข้อกล่าวหาที่จะตามมาก็คือการฟอกเงิน ซึ่งเป็นฐานความผิดที่ระวางอัตราโทษสูง ยกตัวอย่างเช่น หากในวันนี้ผู้ต้องหารายใดมีการโอนจ่ายทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดออกไป 3 ครั้ง ก็จะนับเป็น 3 กรรม นี่จึงเป็นมาตรกา
รรุนแรงที่กฎหมายได้ออกแบบไว้อย่างรอบคอบแล้ว และด้วยการบูรณาการทำงานร่วมกันของหลายหน่วยงาน เรามีความมั่นใจว่าสามารถติดตามทรัพย์สินกลับมาได้ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ผู้ต้องหาทั้ง 6 ราย ที่จะอยู่ในรายชื่อถูกดำเนินการทางทรัพย์สินของคณะกรรมกา
รธุรกรรม ประกอบด้วย 1.นายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล หรือบอสพอล ผู้ก่อตั้งบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด 2.นายกันต์ กันตถาวร หรือบอสกันต์ อดีตผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด 3.นายยุรนันท์ ภมรมนตรี หรือบอสแซม อดีตผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์ 4.น.ส.พีชญา วัฒนามนตร
ี หรือบอสมิน อดีตผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร 5.นายณัญปพนต์ เศรษฐนันท์ หรือบอสปีเตอร์ และ 6.นายฐานานนท์ หิรัญไชยวรรณ หรือบอสหมอเอก
ด่วน! เช็กเลย ปปง.ยึดทรัพย์ 6 บอส ‘ดิไอคอน กรุ๊ป’ ใครโดนบ้างหลัง 17 ต.ค.นี้
”เลขาฯ ปปง.“ เผย พฤหัสนี้เตรียมเสนอคณะกรรมการธุรกรรม ตรวจสอบทรัพย์สินเชิงลึก ”บอสพอล-ก๊วนบอสดาราดัง-เพื่อน“ แย้ม หากข้อมูลชัดเจนครบถ้วน พร้อมออกคำสั่งยึดทรัพย์ 6 บอส ทันที หลังมีพฤติการณ์เข้าข่ายฉ้อโกงประชาชน เตือน โยกย้าย-จ่ายโอนทรัพย์หนี ส่อโดนฟอกเ
งินหลายกระทงกรณีบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด – The iCon Group Co., Ltd. ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพและความงาม ถูกผู้เสียหายกว่า 500 ราย มูลค่าความเสียหาย 118 ล้านบาท เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษบริษัทและกรรมการต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปคบ. ใ
ห้ตรวจสอบว่าบริษัทฯ เข้าข่ายกระทำความ ผิดตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 รวมทั้งขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตรวจสอบการครอบ
ครองทรัพย์สินมูลค่าสูงของบรรดาผู้บริหารบริษัทฯ ตามที่มีการรายงานข่าวไปแล้วนั้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 14 ต.ค. “ผู้สื่อข่าวเดลินิวส์” ได้รับการเปิดเผยจากนายเทพสุ บวรโชติดารา เลขาธิการ ปปง. ว่า สำนักงาน ปปง. กำลังจะมีการประชุมคณะกรรมการธุรกรรมใน
วันพฤหัสบดีที่ 17 ต.ค. นี้ เวลา 13.30 น. โดยวาระสำคัญของการประชุมจะเกี่ยวกับการดำเนินการทางทรัพย์สินของ 2 คดีสำคัญ คือ คดีบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด และคดีทอง 99.99% หรือคดีของ น.ส.กรกนก สุวรรณบุตร (แม่ตั๊ก) และนายกานต์พล เรืองอร่าม (ป๋าเบียร์) เนื่อ
งจากคณะกรรมการธุรกรรม มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลสำนักงาน ปปง. เพื่อตรวจสอบธุรกรรม หรือรายการทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ดังนั้น กรณีคดีของบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด ถือเป็นเรื่องราวที่สังคมให้ความสนใจอย่างยิ่ง ตนจึงได้เตรียมเสนอเรื่องเข้าที่ประช
ุมคณะกรรมการธุรกรรม เพื่อขอให้ที่ประชุมมีมติให้ตรวจสอบธุรกรรมและทรัพย์สินในเชิงลึก นอกจากนี้ ขอบเขตการตรวจสอบเรื่องทรัพย์สิน ปปง. จะทำการตรวจสอบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินของนิติบุคคล หรือบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนธุรกิจ เพราะ ปปง. ได้มีการประส
านข้อมูลอย่างใกล้ชิดกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปคบ. รวมทั้งยังประสานงานกับ สคบ.นายเทพสุ เผยอีกว่า สำหรับกรณีของบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด จากแนวทางการทำงานสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และจากรายงานข่าวสารสื่อมวลชน พบว่าเข้าข่ายเป็นความผิดฐาน พ.ร.ก.กา
รกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 และฉ้อโกงประชาชน ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ส่วนมูลค่ารายการทรัพย์สินที่ ปปง. จะเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการธุรกรรมเพื่อตรวจสอบก่อนมีคำสั่งให้ยึดและอายัดทรัพย์ จะเ
ป็นรายละเอียดตามที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ปคบ. จะได้ประสานข้อมูลรายงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประสานงาน เช่น พบพฤติการณ์การกระทำความผิดมูลฐาน จากนั้น ปปง. และตำรวจจะต้องทำงานร่วมกัน ซึ่งในการทำงานร่วมกันนี้จะไปสู่มิติของการทำคดีอาญาที่ตำรวจจะต
ั้งประเด็นการสอบสวนว่ามีใครเกี่ยวข้องบ้าง ใครคือผู้ต้องหา และเกี่ยวข้องโดยพฤติการณ์ใด เบื้องต้นจึงยังอยู่ระหว่างดำเนินการรวบรวมข้อมูลให้ครบถ้วนรอบด้านก่อน จึงยังไม่สามารถสรุปตัวเลขมูลค่า และประเภทรายการทรัพย์สินได้ ทั้งนี้ จะเป็นบรรดารถยนต์หรู นาฬิกา
หรู บ้านหลังโต เงินสด เงินฝากในบัญชีธนาคารหรือไม่ ขอให้สังคมจับตาดูการทำงานอย่างเต็มที่ ถูกต้อง และรวดเร็วของ ปปง.นายเทพสุ เผยต่อว่า ในวันพฤหัสบดีที่ 17 ต.ค. นี้ ที่จะมีการประชุมของคณะกรรมการธุรกรรม เดิมทียังตั้งวาระเพียงแค่การเสนอเรื่องเข้าที่ประชุม
คณะกรรมการธุรกรรม เพื่อมีมติให้ตรวจสอบธุรกรรมและทรัพย์สินในเชิงลึก แต่ถ้าถึงวันนั้นข้อมูลและพยานหลักฐานมีความสมบูรณ์มากเพียงพอ ที่ประชุมคณะกรรมการธุรกรรมก็สามารถมีมติออกคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์ไว้ตรวจสอบได้ทันที อย่างไรก็ตาม คำสั่งยึดและอายัดจะต้องพิจ
ารณาจากทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดเท่านั้น จะไม่ใช้หลักการตรวจสอบแบบหว่านแห แต่ต้องดูว่าเข้าบทนิยามว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือมีพฤติการณ์ในการยักย้าย หรือกำลังจะยักย้าย จำหน่าย จ่าย โอน หรือไม่ ส่วนจะเป็นทรัพย์สินที่กลุ่ม
ผู้ต้องหาได้มาในช่วงเกิดเหตุที่บริษัทถูกผู้เสียหายร้องเรียนในปี พ.ศ. 2564 หรือไม่นั้น ยืนยันว่า ปปง. จะต้องตรวจสอบย้อนหลังเเน่นอนและจะต้องตรวจสอบให้รอบด้านเมื่อถามว่าการตรวจสอบทรัพย์สินเชิงลึก และเตรียมมีคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินนั้น ประกอบด้วยกลุ่ม
บุคคลใดบ้าง นายเทพสุ ระบุว่า สำหรับเรื่องที่จะเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการธุรกรรม อยู่ในข่ายของผู้ที่ต้องถูกตรวจสอบ ซึ่งก็คือผู้ต้องหาทั้ง 6 ราย ตามที่ตำรวจ ปคบ. ได้มีการออกมาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนนายเทพสุ กล่าวด้วยว่า กรณีหากมีการยึดและอายัดทรัพย์สินเก
ิดขึ้นไปแล้ว แต่ในอนาคตเจ้าหน้าที่ ปปง. สามารถสืบทรัพย์สินได้เพิ่มเติม และพบว่าทรัพย์สินนั้น ๆ มาจากการกระทำความผิดในคดีมูลฐาน ปปง. ก็สามารถเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการธุรกรรม เพื่อมีคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินได้อีก ตนขอเรียนพี่น้องประชาชน ว่า ก
ารดำเนินการตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินถือเป็นมาตรการที่รุนแรง การใช้อำนาจจึงต้องอิงด้วยหลักกฏหมาย และจะต้องดูในทุกมิติ การจะดำเนินการสิ่งใดแม้ต้องใช้ความรวดเร็ว แต่ก็ต้องละเอียดรอบคอบอย่างยิ่ง ส่วนในกรณีที่สังคมตั้งข้อสังเกตว่ากลุ่มผู้ต้องห
าอาจมีการจำหน่าย ยักย้าย ถ่ายเท แปลงสภาพทรัพย์สินไปก่อนที่เจ้าหน้าที่จะเข้ายึดและอายัดนั้น ขอย้ำว่าเรามีการเฝ้าระวังอย่างดีเมื่อถามว่าจากการดำเนินการตรวจสอบหรือสืบทรัพย์สินของทางสำนักงาน ปปง. พบหรือไม่ว่ากลุ่มผู้ต้องหาหรือกลุ่มเครือข่ายมีการจำหน่าย จ
่าย โอนทรัพย์สินออกไปยังต่างประเทศ นายเทพสุ กล่าวว่า ในตอนนี้เบื้องต้นยังไม่พบการทำธุรกรรมในลักษณะดังกล่าว แต่ทุกอย่างยังอยู่ระหว่างกระบวนการสืบสวนนายเทพสุ ย้ำว่า การใช้อำนาจเข้าไปยึดและอายัดทรัพย์สิน เรามองถึงผลลัพธ์สูงสุด หากท้ายสุดผู้ต้องหามีพฤติก
รรมการยักย้าย จำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์สิน ข้อกล่าวหาที่จะตามมาก็คือการฟอกเงิน ซึ่งเป็นฐานความผิดที่ระวางอัตราโทษสูง ยกตัวอย่างเช่น หากในวันนี้ผู้ต้องหารายใดมีการโอนจ่ายทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดออกไป 3 ครั้ง ก็จะนับเป็น 3 กรรม นี่จึงเป็นมาตรกา
รรุนแรงที่กฎหมายได้ออกแบบไว้อย่างรอบคอบแล้ว และด้วยการบูรณาการทำงานร่วมกันของหลายหน่วยงาน เรามีความมั่นใจว่าสามารถติดตามทรัพย์สินกลับมาได้ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ผู้ต้องหาทั้ง 6 ราย ที่จะอยู่ในรายชื่อถูกดำเนินการทางทรัพย์สินของคณะกรรมกา
รธุรกรรม ประกอบด้วย 1.นายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล หรือบอสพอล ผู้ก่อตั้งบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด 2.นายกันต์ กันตถาวร หรือบอสกันต์ อดีตผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด 3.นายยุรนันท์ ภมรมนตรี หรือบอสแซม อดีตผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์ 4.น.ส.พีชญา วัฒนามนตร
ี หรือบอสมิน อดีตผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร 5.นายณัญปพนต์ เศรษฐนันท์ หรือบอสปีเตอร์ และ 6.นายฐานานนท์ หิรัญไชยวรรณ หรือบอสหมอเอก