13-15 ตค 2567 ล่าดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส (C/2023 A3) ณ วัดภูพร้าว วัดป่าวิเวกธรรมชาน์ ชมจันทร์ริมมูล จ.อุบลราชธานี –

13-15 ตค 2567 ล่าดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส (C/2023 A3) ณ วัดภูพร้าว วัดป่าวิเวกธรรมชาน์ ชมจันทร์ริมมูล จ.อุบลราชธานี –

เมื่อผมออกตามหารักแท้ ตค 2567 ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส (C/2023 A3)  จะรอคราวหน้าก็กลัวจะลืม

13-15 ตค 2567 ล่าดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส (C/2023 A3) ณ วัดภูพร้าว วัดป่าวิเวกธรรมชาน์ ชมจันทร์ริมมูล จ.อุบลราชธานี –

ดาวหางที่กำลังเป็นที่กล่าวถึงกันมากที่สุดในขณะนี้คงหนีไม่พ้นดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส หรืออาจเรียกย่อ ๆ ว่าเอ 3 เนื่องจากกำลังมีความสว่างเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ช่วงแรกจะปรากฏบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด สังเกตได้ถึงประมาณวันที่ 6-7 ตุลาคม 2567 หลังจากนั้นดาวหางจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ กลับมาให้เห็นอีกครั้งบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำตั้งแต่ประมาณวันที่ 11-12 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป

ดาวหางดวงนี้มีชื่อในบัญชีดาวหางว่า ซี/2023 เอ3 (จื่อจินซาน-แอตลัส) – C/2023 A3 (Tsuchinshan-ATLAS) บ่งบอกว่าเป็นดาวหางดวงที่ 3 ที่ค้นพบในครึ่งแรกของเดือนมกราคม ค.ศ. 2023 ชื่อดาวหางตั้งตามผู้ค้นพบ ซึ่งเป็นการค้นพบจากภาพถ่ายของหอดูดาวจื่อจินซาน ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของเมืองหนานจิง มณฑลเจียงซู ประเทศจีน และภาพถ่ายในโครงการแอตลัส (ATLAS ย่อมาจาก Asteroid Terrestrial-impact Last Alert System) ซึ่งเป็นโครงการค้นหาวัตถุที่อาจพุ่งชนโลก

13-15 ตค 2567 ล่าดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส (C/2023 A3) ณ วัดภูพร้าว วัดป่าวิเวกธรรมชาน์ ชมจันทร์ริมมูล จ.อุบลราชธานี -

13-15 ตค 2567 ล่าดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส (C/2023 A3) ณ วัดภูพร้าว วัดป่าวิเวกธรรมชาน์ ชมจันทร์ริมมูล จ.อุบลราชธานี –

ขณะค้นพบดาวหางอยู่ในกลุ่มดาวงู ห่างดวงอาทิตย์ถึง 7.7 หน่วยดาราศาสตร์ ซึ่งอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวพฤหัสบดีกับดาวเสาร์ หลังจากนั้นดาวหางได้เคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น จะผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 27 กันยายน 2567 (ตามเวลาสากล) ที่ระยะห่าง 0.3914 หน่วยดาราศาสตร์ และใกล้โลกที่สุดในวันที่ 12 ตุลาคม 2567 ที่ระยะห่าง 0.4724 หน่วยดาราศาสตร์ (71 ล้านกิโลเมตร)

ผลการคำนวณในตอนแรกคาดว่าดาวหางอาจสว่างที่สุดในปลายเดือนกันยายน-ต้นเดือนตุลาคม ที่ราวโชติมาตร 0 เทียบได้กับดาวเวกาในกลุ่มดาวพิณ ช่วงกลางเดือนเมษายน 2567 อัตราการเพิ่มขึ้นของความสว่างได้ชะลอตัวลง ทำให้สว่างน้อยกว่าที่คาดไว้ เมื่อถึงต้นเดือนตุลาคมอาจสว่างที่สุดราวโชติมาตร 2 เท่านั้น (เทียบได้กับดาวเหนือในกลุ่มดาวหมีเล็ก)

อย่างไรก็ตาม นักดาราศาสตร์พบว่าดาวหางดวงนี้ผลิตฝุ่นออกมามาก ตำแหน่งที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ในมุมมองจากโลกทำให้แสงอาทิตย์ที่ส่องมาจากด้านหลังเกิดการกระเจิงเมื่อกระทบกับแก๊สและฝุ่นของดาวหาง หนุนให้ดาวหางสว่างขึ้นได้หลายอันดับ อาจทำให้มีโชติมาตร -4 หรือสว่างกว่านั้น ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 9 ตุลาคม 2567 ทว่าวันนั้นดาวหางอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก ไม่สามารถสังเกตได้ภายใต้ฟ้ามืด

ประเทศไทยสามารถสังเกตดาวหางดวงนี้ได้บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก มีตำแหน่งอยู่ทางขวามือของกลุ่มดาวสิงโต ดาวหางยังไม่ค่อยสว่างนักและอยู่ใกล้ขอบฟ้ามาก ขึ้นก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นเพียงประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น จึงมีแสงอรุณรุ่งรบกวน ข้อจำกัดนี้ทำให้ต้องหาสถานที่ซึ่งขอบฟ้าทิศตะวันออกเปิดโล่ง อาจต้องอยู่บนที่สูงหรือใกล้ชายฝั่งทะเลที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก โดยปรกติเรามักแนะนำให้ดูดาวในที่ห่างไกลจากตัวเมืองเพื่อหลีกเลี่ยงมลพิษทางแสงและหมอกควันในอากาศที่บดบังท้องฟ้าใกล้ขอบฟ้า แต่ในกรณีนี้ตำแหน่งของดาวหางที่อยู่ไม่ไกลจากดวงอาทิตย์นัก ทำให้แสงของท้องฟ้ายามเช้าอาจเป็นอุปสรรคมากกว่า ตาเปล่าเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ แนะนำให้สังเกตด้วยกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์

รายงานเมื่อวันที่ 25 กันยายน ดาวหางสว่างที่โชติมาตร 3 แม้ว่าจากตัวเลขนี้ดูเหมือนสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่การสังเกตการณ์จริงทำได้ยากกว่าปรกติเนื่องจากท้องฟ้าฉากหลังไม่ได้มืดสนิท แนวโน้มโดยทั่วไป ดาวหางควรจะสว่างขึ้นเรื่อย ๆ สังเกตได้ถึงวันที่ 6-7 ตุลาคม เท่านั้น (คาดว่าอาจสว่างที่โชติมาตร -1 เมื่อรวมผลจากการกระเจิงของแสง)

หลังจากนั้นดาวหางจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ขึ้นและตกเกือบพร้อมกับดวงอาทิตย์ จึงไม่สามารถสังเกตได้ และเป็นช่วงที่สว่างที่สุด ดาวหางจะปรากฏในภาพถ่ายของกล้องคอโรนากราฟบนยานโซโฮระหว่างวันที่ 7-11 ตุลาคม 2567 โดยมีระยะเชิงมุมจากดวงอาทิตย์ประมาณ 3°-9°

แผนที่แสดงตำแหน่งดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัสเทียบกับดาวฤกษ์ระหว่างวันที่ 26 กันยายน – 7 ตุลาคม 2567 เวลาประมาณ 30-45 นาที ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น และแสดงตำแหน่งดวงจันทร์ในวันต่าง ๆ ขอบฟ้าในภาพเป็นขอบฟ้าของวันที่ 7 ตุลาคม วันก่อนหน้านั้น ขอบฟ้าจะอยู่สูงกว่านี้เมื่อเทียบกับกลุ่มดาว (เส้นประแสดงขอบฟ้าของวันที่ 26 กันยายน หลังจากนั้นขอบฟ้าจะเคลื่อนต่ำลงเรื่อย ๆ) ดาวหางจึงอยู่ใกล้ขอบฟ้าโดยมีมุมเงยไม่เกิน 10° ตลอดช่วงที่ปรากฏในเวลาเช้ามืด

การสังเกตดาวหางในเวลาหัวค่ำ (ตั้งแต่วันที่ 11-12 ตุลาคม เป็นต้นไป)

กลางเดือนตุลาคม ดาวหางทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้นจนปรากฏบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เริ่มเห็นได้ตั้งแต่วันที่ 11 หรือ 12 ตุลาคม 2567 คาดว่าในวันที่ 12 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันใกล้โลกที่สุด อาจสว่างราวโชติมาตร -1.5 (เมื่อรวมการกระเจิงของแสง) อย่างไรก็ตาม ดาวหางมีตำแหน่งอยู่ใกล้ขอบฟ้า ความสว่างที่เห็นได้จริงอาจน้อยกว่านี้ (ทำนองเดียวกับที่เราเห็นดวงอาทิตย์สว่างน้อยลงมากเมื่อเพิ่งขึ้นหรือกำลังจะตกลับขอบฟ้า)

ดาวหางน่าจะมีความสว่างลดลงทุกวันตามระยะห่างจากโลกและดวงอาทิตย์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้นด้วย (ทำให้สังเกตได้ง่ายขึ้นและมีเวลาอยู่บนท้องฟ้านานขึ้น) คาดว่าความสว่างจะลดลงจนเกินขอบเขตที่จะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (โชติมาตร 6) ในราวต้นเดือนพฤศจิกายน

แผนที่แสดงตำแหน่งดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัสเทียบกับดาวฤกษ์ระหว่างวันที่ 12–31 ตุลาคม 2567 เวลาประมาณ 45 นาที หลังดวงอาทิตย์ตก สามารถใช้ดาวฤกษ์ในกลุ่มดาวต่าง ๆ และดาวศุกร์ที่อยู่ทางซ้ายมือช่วยในการระบุตำแหน่งของดาวหาง

ข้อมูลดีๆจาก

https://thaiastro.nectec.or.th/skyevent/article/c2023a3/

การหาดาวหาง

https://web.facebook.com/share/p/j4APSsoGSABdPrEa/

หรือ

APP Star Walk 2 (ผมใช้มือถือแอดดอย)

https://play.google.com/store/apps/details?id=com.vitotechnology.StarWalk2Free&hl=th

** ทำเลในการถ่าย และนำที่ท้องฟ้ามืด ดูจากมุมสูงลงมาที่โล่งจะดี

ชื่อสินค้า:

ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส (C/2023 A3)

คะแนน:

CR – Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

– จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้

– ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ

แก้ไขข้อความเมื่อ