ข่าวดี! เฟส2 มาแล้ว ธ.ก.ส. เปิดให้ลงทะเบียน 1 ต.ค.นี้ เตรียมบัตรประชาชนเพื่อยืนยันตัวตน
วันที่ 28 ก.ย. 2567 นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. พร้อมดำเนินมาตรการพักชำระหนี้ลูกหนี้รายย่อย ในระยะที่ 2 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 เพื่อลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับ
ผลกระทบจาก โควิด-19 ที่ยังไม่ฟื้นตัวและบรรเทาภาระด้านหนี้สินให้แก่ลูกหนี้ โดยผลการดำเนินงานมาตรการฯ ในระยะที่ 1 มีผู้เข้าร่วมมาตรการฯ ทั้งสิ้น 1.41 ล้านราย ต้นเงินคงเป็นหนี้ 2.10,191 ล้านบาทซึ่ง ธ.ก.ส. เปิดรับแจ้งความประสงค์ในการเข้าร่วมมาตรการฯ ระยะ
ที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 – 31 มกราคม 2568 เพียงนำบัตรประชาชนมาใช้ในการยืนยันตัวตน ได้ที่ ธ.ก.ส.สาขาที่ใช้บริการ เพื่อให้พนักงานตรวจสอบคุณสมบัติ รวมถึงสอบทานข้อมูลและประเมินศักยภาพการชำระหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข จะได้รับ
การพักชำระหนี้ในระยะที่ 2 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2567 – 30 กันยายน 2568 โดยอัตโนมัติทั้งนี้ รัฐบาลยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งในการประกอบอาชีพ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพียงพอและสามารถชำระหนี้ได้ โดยมอบหมายให้ ธ.ก.ส. ดำเนินการเสริมความรู้ฟื้นฟูทั
กษะในการประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย ภายใต้แนวทาง ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนการผลิตเป็นแบบทำน้อยได้มาก ทำผลผลิตให้มีคุณภาพสูงให้สามารถจำหน่ายได้ในตลาดที่มีมูลค่าสูง ยกระดับการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม การ
สร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ด้วยการปลูกพืชระยะสั้น พืชหลังนา สัตว์โตไวที่มีมูลค่าสูง การพัฒนาอาชีพเดิม โดยการเพิ่มผลผลิต ลดความสูญเสีย ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มมาตรฐานซึ่งผลการดำเนินงานในระยะที่ 1 มีลูกค้าที่ผ่านการอบรมแล้ว จำนวน 2.9 แสนราย จากเป้าหมา
ย 3 แสนราย คิดเป็น 96.88% โดย ธ.ก.ส. ได้สนับสนุนเงินทุนอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนผ่านผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่เหมาะสมในการฟื้นฟูการประกอบอาชีพ วงเงินสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ไปแล้ว จำนวน 10,754 ราย เพื่อเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรสามารถนำเงินทุนไปใช้ลงทุนปรับเปลี่ยนก
ารผลิต หรือขยายการประกอบอาชีพ และฟื้นฟูศักยภาพตนเอง เพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ดียิ่งขึ้นรวมถึงการนำความรู้ที่ได้จากการอบรมมาสร้างรายได้ เพื่อให้ลูกหนี้มีศักยภาพ และความสามารถในการชำระหนี้หลังสิ้นสุดมาตรการ อันนำไปสู่การสร้างงาน สร้างราย
ได้และช่วยให้เกษตรกรสามารถหลุดพ้นกับดักหนี้ได้อย่างยั่งยืน
ข่าวดี! เฟส2 มาแล้ว ธ.ก.ส. เปิดให้ลงทะเบียน 1 ต.ค.นี้ เตรียมบัตรประชาชนเพื่อยืนยันตัวตน
วันที่ 28 ก.ย. 2567 นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. พร้อมดำเนินมาตรการพักชำระหนี้ลูกหนี้รายย่อย ในระยะที่ 2 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 เพื่อลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับ
ผลกระทบจาก โควิด-19 ที่ยังไม่ฟื้นตัวและบรรเทาภาระด้านหนี้สินให้แก่ลูกหนี้ โดยผลการดำเนินงานมาตรการฯ ในระยะที่ 1 มีผู้เข้าร่วมมาตรการฯ ทั้งสิ้น 1.41 ล้านราย ต้นเงินคงเป็นหนี้ 2.10,191 ล้านบาทซึ่ง ธ.ก.ส. เปิดรับแจ้งความประสงค์ในการเข้าร่วมมาตรการฯ ระยะ
ที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 – 31 มกราคม 2568 เพียงนำบัตรประชาชนมาใช้ในการยืนยันตัวตน ได้ที่ ธ.ก.ส.สาขาที่ใช้บริการ เพื่อให้พนักงานตรวจสอบคุณสมบัติ รวมถึงสอบทานข้อมูลและประเมินศักยภาพการชำระหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข จะได้รับ
การพักชำระหนี้ในระยะที่ 2 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2567 – 30 กันยายน 2568 โดยอัตโนมัติทั้งนี้ รัฐบาลยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งในการประกอบอาชีพ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพียงพอและสามารถชำระหนี้ได้ โดยมอบหมายให้ ธ.ก.ส. ดำเนินการเสริมความรู้ฟื้นฟูทั
กษะในการประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย ภายใต้แนวทาง ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนการผลิตเป็นแบบทำน้อยได้มาก ทำผลผลิตให้มีคุณภาพสูงให้สามารถจำหน่ายได้ในตลาดที่มีมูลค่าสูง ยกระดับการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม การ
สร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ด้วยการปลูกพืชระยะสั้น พืชหลังนา สัตว์โตไวที่มีมูลค่าสูง การพัฒนาอาชีพเดิม โดยการเพิ่มผลผลิต ลดความสูญเสีย ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มมาตรฐานซึ่งผลการดำเนินงานในระยะที่ 1 มีลูกค้าที่ผ่านการอบรมแล้ว จำนวน 2.9 แสนราย จากเป้าหมา
ย 3 แสนราย คิดเป็น 96.88% โดย ธ.ก.ส. ได้สนับสนุนเงินทุนอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนผ่านผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่เหมาะสมในการฟื้นฟูการประกอบอาชีพ วงเงินสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ไปแล้ว จำนวน 10,754 ราย เพื่อเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรสามารถนำเงินทุนไปใช้ลงทุนปรับเปลี่ยนก
ารผลิต หรือขยายการประกอบอาชีพ และฟื้นฟูศักยภาพตนเอง เพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ดียิ่งขึ้นรวมถึงการนำความรู้ที่ได้จากการอบรมมาสร้างรายได้ เพื่อให้ลูกหนี้มีศักยภาพ และความสามารถในการชำระหนี้หลังสิ้นสุดมาตรการ อันนำไปสู่การสร้างงาน สร้างราย
ได้และช่วยให้เกษตรกรสามารถหลุดพ้นกับดักหนี้ได้อย่างยั่งยืน