กรุงเทพฯเสี่ยงจมน้ำ ถึงเวลาย้ายเมืองหลวงแล้วหรือยัง
กรุงเทพฯเสี่ยงจมน้ำ ถึงเวลาย้ายเมืองหลวงแล้วหรือยังหลังจากที่ John englander เผยข้อมูลระบุว่า กรุงเทพมหานคร ติดอันดับหนึ่งในเมืองใหญ่ที่เสี่ยง จมน้ำ โดยอันดับ 1 เป็นของ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย อันดับ 2 กรุงมะนิลา ประเทศ ฟิลิปปินส์ อันดับ 3 โฮจ
ิมินห์ ประเทศเวียดนาม อันดับ 4 เมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐลุยเซียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา และอันดับ 5 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทยทั้งนี้ อินโดนีเซีย ได้ขยับรับมือปัญหานี้อย่างเด่นชัด ด้วยการย้ายเมืองหลวงจากกรุงจาการ์ตา ที่ทรุดตัวมากที่สุดในโลก ราว 30.5 เซนติเมตรต
่อปี จนทำให้ความสูงของพื้นดินอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำ ทะเลมากถึงร้อยละ 40 ไปอยู่ที่เมือง “นูซันตารา” (Nusantara) บนเกาะบอร์เนียว ห่างจากกรุง จาการ์ตา เมืองหลวงเก่า ประมาณ 2,000 กิโลเมตร อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 200- 4,095 เมตร ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาร
ะดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตจากภาวะโลกร้อน ทำให้ คำถามที่ว่า “ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ประเทศไทยจะต้องย้ายเมืองหลวง?” กลายเป็นคำถามที่หลาย คนเริ่มส่งเสียงออกมาถึงรัฐบาลในตอนนี้กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของไทย ร้อยละ 96 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นแอ่งกระทะ และ
เป็นดินอ่อน ทำเลที่ตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเพียง 1.5 เมตร อัตราแผ่นดินทรุดคือ 2 เซนติเมตรต่อปี ส่วนระดับน้ำทะเลรอบกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นราวปีละ 4 มิลลิเมตร ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลก ทำให้หลายคนเริ่มตระหนักกันว่ากรุงเทพฯ อาจกำลังจะจมน้ำภายในปี 205
0 หรือ พ.ศ.2593 ซึ่งไม่ได้ หมายความว่าเมืองหลวงของไทยจะถูกลบออกจากแผนที่โลก แต่หมายถึงการที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็น พื้นที่ลุ่มต่ำ ทำให้เกิดความเสี่ยงเรื่องของน้ำทะเลที่หนุนที่อาจกินพื้นที่เป็นบริเวณกว้างกว่าเดิมหรือเกิดน้ำท่วมขังมากขึ้น ยาวนานขึ้นและมีโ
อกาสสูงมากที่จะเกิดน้ำท่วมใหญ่แบบปี 54ความเป็นไปได้ที่ไทยจะย้ายเมืองหลวงสำหรับเรื่องการย้ายเมืองหลวง รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กล่าว ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “กรุงเทพฯเมืองหลวง ปรับเปลี่ยนหรือโยกย้าย” เมื่อปี 2565 โดยระบุว่า ป
ัญหาของกรุงเทพฯ นอกเหนือจากน้ำท่วมซึ่งเกิดจากพื้นที่กรุงเทพฯต่ำกว่าระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา น้ำทะเลหนุน น้ำฝนแล้ว ยังมีในส่วนของวินัยของคน ขยะอุดตันท่อระบายน้ำ การทิ้งขยะชิ้นใหญ่ในแหล่งน้ำ ที่ส่งผลกระทบต่อการระบายน้ำเป็นอย่างมากซึ่งหากย้ายเมืองไปที่อื
่นแต่ยังมีการทิ้งขยะแบบนี้ปัญหาก็เหมือนเดิม ส่วนปัญหาอื่นๆที่สำคัญยิ่งกว่าน้ำท่วมอาทิ การกระจุกตัวของแหล่งงานใจกลางเมือง มูลค่าที่อยู่อาศัยใจกลางเมืองแพง คนจึงมักจะซื้อบ้านนอกเมืองแล้วเดินทางเข้ามาทำงานในเมือง ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาจราจรแออัดตามมาการแ
ก้ปัญหาแทนที่จะย้ายเมือง กระจายเมืองได้หรือไม่ กระจายงานออกด้านนอกมากขึ้นได้หรือไม่ เป็นต้นความหมายของเมืองไม่ใช่สิ่งก่อสร้างแต่เมืองคือคน เมืองคือตลาดแรงงานหรือ labor market ความหมายการย้ายเมืองหลวงอาจจะมีมิติอื่นที่ไม่เหมือนในสมัยก่อนเพราะสมัยก่อนเ
ศรษฐกิจถูกควบคุมโดยภาครัฐแต่ปัจจุบันเป็น market control ที่เมื่อก่อนย้ายได้เพราะราชการเป็นคนจ้างงานปัจจุบันคนที่จ้างงานส่วนใหญ่คือเอกชนคำว่าย้ายเมืองจึงไม่ง่ายเพราะเป็นการย้ายคน ย้ายเศรษฐกิจ ย้ายตลาดแรงงาน ไม่ใช่การย้ายหน่วยงานราชการ
กรุงเทพฯเสี่ยงจมน้ำ ถึงเวลาย้ายเมืองหลวงแล้วหรือยัง
กรุงเทพฯเสี่ยงจมน้ำ ถึงเวลาย้ายเมืองหลวงแล้วหรือยังหลังจากที่ John englander เผยข้อมูลระบุว่า กรุงเทพมหานคร ติดอันดับหนึ่งในเมืองใหญ่ที่เสี่ยง จมน้ำ โดยอันดับ 1 เป็นของ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย อันดับ 2 กรุงมะนิลา ประเทศ ฟิลิปปินส์ อันดับ 3 โฮจ
ิมินห์ ประเทศเวียดนาม อันดับ 4 เมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐลุยเซียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา และอันดับ 5 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทยทั้งนี้ อินโดนีเซีย ได้ขยับรับมือปัญหานี้อย่างเด่นชัด ด้วยการย้ายเมืองหลวงจากกรุงจาการ์ตา ที่ทรุดตัวมากที่สุดในโลก ราว 30.5 เซนติเมตรต
่อปี จนทำให้ความสูงของพื้นดินอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำ ทะเลมากถึงร้อยละ 40 ไปอยู่ที่เมือง “นูซันตารา” (Nusantara) บนเกาะบอร์เนียว ห่างจากกรุง จาการ์ตา เมืองหลวงเก่า ประมาณ 2,000 กิโลเมตร อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 200- 4,095 เมตร ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาร
ะดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตจากภาวะโลกร้อน ทำให้ คำถามที่ว่า “ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ประเทศไทยจะต้องย้ายเมืองหลวง?” กลายเป็นคำถามที่หลาย คนเริ่มส่งเสียงออกมาถึงรัฐบาลในตอนนี้กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของไทย ร้อยละ 96 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นแอ่งกระทะ และ
เป็นดินอ่อน ทำเลที่ตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเพียง 1.5 เมตร อัตราแผ่นดินทรุดคือ 2 เซนติเมตรต่อปี ส่วนระดับน้ำทะเลรอบกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นราวปีละ 4 มิลลิเมตร ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลก ทำให้หลายคนเริ่มตระหนักกันว่ากรุงเทพฯ อาจกำลังจะจมน้ำภายในปี 205
0 หรือ พ.ศ.2593 ซึ่งไม่ได้ หมายความว่าเมืองหลวงของไทยจะถูกลบออกจากแผนที่โลก แต่หมายถึงการที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็น พื้นที่ลุ่มต่ำ ทำให้เกิดความเสี่ยงเรื่องของน้ำทะเลที่หนุนที่อาจกินพื้นที่เป็นบริเวณกว้างกว่าเดิมหรือเกิดน้ำท่วมขังมากขึ้น ยาวนานขึ้นและมีโ
อกาสสูงมากที่จะเกิดน้ำท่วมใหญ่แบบปี 54ความเป็นไปได้ที่ไทยจะย้ายเมืองหลวงสำหรับเรื่องการย้ายเมืองหลวง รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กล่าว ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “กรุงเทพฯเมืองหลวง ปรับเปลี่ยนหรือโยกย้าย” เมื่อปี 2565 โดยระบุว่า ป
ัญหาของกรุงเทพฯ นอกเหนือจากน้ำท่วมซึ่งเกิดจากพื้นที่กรุงเทพฯต่ำกว่าระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา น้ำทะเลหนุน น้ำฝนแล้ว ยังมีในส่วนของวินัยของคน ขยะอุดตันท่อระบายน้ำ การทิ้งขยะชิ้นใหญ่ในแหล่งน้ำ ที่ส่งผลกระทบต่อการระบายน้ำเป็นอย่างมากซึ่งหากย้ายเมืองไปที่อื
่นแต่ยังมีการทิ้งขยะแบบนี้ปัญหาก็เหมือนเดิม ส่วนปัญหาอื่นๆที่สำคัญยิ่งกว่าน้ำท่วมอาทิ การกระจุกตัวของแหล่งงานใจกลางเมือง มูลค่าที่อยู่อาศัยใจกลางเมืองแพง คนจึงมักจะซื้อบ้านนอกเมืองแล้วเดินทางเข้ามาทำงานในเมือง ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาจราจรแออัดตามมาการแ
ก้ปัญหาแทนที่จะย้ายเมือง กระจายเมืองได้หรือไม่ กระจายงานออกด้านนอกมากขึ้นได้หรือไม่ เป็นต้นความหมายของเมืองไม่ใช่สิ่งก่อสร้างแต่เมืองคือคน เมืองคือตลาดแรงงานหรือ labor market ความหมายการย้ายเมืองหลวงอาจจะมีมิติอื่นที่ไม่เหมือนในสมัยก่อนเพราะสมัยก่อนเ
ศรษฐกิจถูกควบคุมโดยภาครัฐแต่ปัจจุบันเป็น market control ที่เมื่อก่อนย้ายได้เพราะราชการเป็นคนจ้างงานปัจจุบันคนที่จ้างงานส่วนใหญ่คือเอกชนคำว่าย้ายเมืองจึงไม่ง่ายเพราะเป็นการย้ายคน ย้ายเศรษฐกิจ ย้ายตลาดแรงงาน ไม่ใช่การย้ายหน่วยงานราชการ