สคบ.ชี้เหตุไม่รับฟ้อง The icon ในปี 2565 –

สคบ.ชี้เหตุไม่รับฟ้อง The icon ในปี 2565 –

กว่าเรื่องจะแดงขึ้นมาใช้เวลา 2 ปี

สคบ.ชี้เหตุไม่รับฟ้อง The icon ในปี 2565 –

นับจากวันที่มีคนไปร้องเรียน

นายจิติภัทร์ บุญสม ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กล่าวถึงกรณีบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป (The Icon Group) จำกัด ซึ่งปรากฏผู้ร้องเรียนว่าได้รับความเสียหายจากบริษัทดังกล่าว และมีเอกสารยืนยันว่า ในปี 2565 เคยมีการร้องเรียนไปยัง สคบ. แล้ว แต่ สคบ. ปฏิเสธคำร้อง

สคบ.ชี้เหตุไม่รับฟ้อง The icon ในปี 2565 -

สคบ.ชี้เหตุไม่รับฟ้อง The icon ในปี 2565 –

นายจิติภัทร์กล่าวว่า ในครั้งนั้นมีผู้มาร้องเรียนทั้งสิ้น 15 ราย เข้ามาร้องเรียนในลักษณะว่าได้เข้าไปร่วมลงทุนกับดิไอคอนฯ เพื่อการประกอบธุรกิจโดยคาดหวังผลกําไรจากส่วนกลาง-ค้าปลีก ซึ่งตาม พรบ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และ พรบ. ขายตรงและตลาดขายตรงนั้น จะเน้นการให้การคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหลัก

การที่ประชาชนเข้าไปร่วมประกอบธุรกิจ จึงไม่เข้าองค์ประกอบที่กฎหมายทั้ง

2

ฉบับนี้ให้การคุ้มครอง สคบ. จึงไม่มีอำนาจที่จะเข้าไปพิจารณาในส่วนนี้

แต่ทั้งนี้ สคบ. ได้ใช้กระบวนการช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยระหว่างผู้เสียหายกับบริษัทฯ โดยเจ้าหน้าที่เป็นตัวกลางในการเจรจา และทั้ง 2 ฝ่ายตกลงกันได้แล้ว อีกทั้งผู้เสียหาย 13 รายได้รับเงินคืนไปแล้ว ส่วนอีก 2 รายอยู่ในระหว่างการดำเนินการ

นายจิติภัทร์กล่าวว่ากรณีข้างต้นนั้น เริ่มมีผู้ร้องเรียนมาตั้งแต่ปี 2563 เป็นการทยอยกันร้องเรียนเข้ามา และยังคงมีผู้ร้องเรียนทยอยกันร้องเรียนเข้ามา โดยเฉพาะนับตั้งแต่หลังเหตุการณ์คิด-19 ช่วงปี 2566 – 2567 ที่ค่อนข้างจะเยอะ

เมื่อถามถึงการจดทะเบียนธุรกิจประเภทขายตรงจาก สคบ. นายจิติภัทร์กล่าวว่า ดิไอคอนฯ ได้รับการจดทะเบียนธุรกิจตลาดแบบตรง ในปี 2562 ซึ่งธุรกิจแบบขายตรง และตลาดแบบตรงนั้นมีความแตกต่างกัน

โดยธุรกิจตลาดแบบตรงนั้น จะประกอบไปด้วยบุคคล 2 บุคคล คือผู้ขายผ่านช่องทางสื่อไปทางผู้บริโภคโดยตรง เป็นการขายสินค้าออนไลน์ผู้บริโภคซื้อสินค้าผ่านออนไลน์

แต่ตลาดแบบตรงนั้น เป็นการขายผ่านตัวแทนขายตรง หรือผู้จำหน่ายอิสระ ซึ่งประกอบไปด้วยบุคคล 3 กลุ่มคือเจ้าของธุรกิจ, กลุ่มตัวแทนขายตรงและผู้จำหน่ายอิสระ และกลุ่มผู้บริโภค ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้า

นิยามของการขายตรงนั้น มีการกำหนดลักษณะของธุรกิจ โดยในกลุ่มตัวแทนขายตรงหรือผู้จำหน่ายอิสระนั้น จะมีสัญญาแผนการจ่ายผลตอบแทนซึ่งกันและกัน โดยมีตัวแทนแม่ข่ายไปหาสมาชิกที่เป็นลูกข่าย เมื่อลูกข่ายหรือแม่ข่ายขายสินค้าได้ จะมีเปอร์เซ็นต์ที่จะส่งต่อให้กับตัวลูกข่ายและย้อนกลับมาถึงแม่ข่ายเป็นทอดๆ ไป

ทั้งนี้ ดิไอคอนฯ นั้นได้มายื่นจดทะเบียนขายตรง ในปี 2565 เพื่อการขายปลีก ซึ่งจะมีการกำหนดคล้าย ๆ กับยี่ปั๊ว (ผู้ค้าส่ง) ซาปั๊ว (ผู้ค้าปลีก) ซึ่งถ้าหากซื้อในปริมาณมาก ๆ ก็จะได้รับส่วนลดที่มากขึ้น ถ้าซื้อน้อย ก็ได้รับส่วนลดน้อย ซึ่งผู้ค้าปลีกจะได้รับการอบรม เพื่อการทำการขาย ซึ่งนายทะเบียนพิจารณาแล้วว่าไม่เข้านิยามของ พรบ. ขายตรง ที่จะต้องมีแม่ข่ายและลูกข่ายจึงมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียน

เมื่อถามว่า โมเดลธุรกิจที่ดิไอคอนฯ มาขอยื่นจดต่อ สคบ. นั้น มีลักษณะที่ผสมผสานระหว่างตลาดแบบตรง และการขายตรงใช่ สคบ.จึงไม่รับจดทะเบียน แต่ทั้งนี้ ดิไอคอนฯ ได้มีการจดทะเบียนตลาดแบบตรงไปก่อนหน้านี้แล้ว ใช่หรือไม่ นายจิติภัทร์กล่าวว่าใช่

เมื่อถามว่า การที่ดิไอคอนฯ ได้รับอนุญาตให้ทำธุรกิจขายตรง แต่กลับไปมีเครือข่ายเขาไปมีตัวแทนขาย (ทำตลาดแบบตรง) มันจะผิดกฎหมายหรือกฎระเบียบว่าด้วยตลาดแบบตรงหรือไม่ นายจิติภัทร์กล่าวว่า ถ้าปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีการไปสร้างเครือข่ายจริง ผิดแปลกไปจากที่เคยยื่น

สคบ. จะเรียกทางบริษัทฯ เข้ามาชี้แจง และจะมีการตรวจสอบ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนว่า สคบ. จะไม่หยุดแค่นี้ แต่จะมีการประสานงานกับตำรวจในข้อหาฉ้อโกงประชาชน หรือกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เมื่อถามว่า การกระทำเช่นนี้ถือว่าผิดกฎหมายหรือไม่ และ สคบ. จะดำเนินการอย่างไร นายจิติภัทร์กล่าวว่าหากตรวจสอบพบว่าเป็นเช่นนั้นจริง ก็จะถือว่ามีความผิดฐานประกอบธุรกิจก่อนได้รับอนุญาต ซึ่งจะมีโทษจำคุก 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นายจิติภัทร์กล่าวว่าในการยื่นขอจดทะเบียนนั้น สคบ. จะพิจารณาจากแผนการประกอบธุรกิจเป็นหลัก ว่ามีรายได้หลักจากทางใด หากพิจารณาแล้วพบว่ามีโอกาสที่จะเป็นการแชร์ลูกโซ่ มีรายได้หลักมาจากการหาสมาชิกใหม่ ก็จะไม่อนุญาต

แต่ในทางปฏิบัติ ผู้ยื่นขอจดทะเบียนหลายราย ยื่นขอไม่ตรงกับการประกอบธุรกิจจริง และเคยตรวจสอบพบมาหลายรายแล้ว และการแชร์ลูกโซ่นั้น เข้าข่ายการกระทำความผิดตาม พรก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

https://www.facebook.com/share/p/sisrdnHhw5aNVvYA/?mibextid=xfxF2i